ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
หรืออุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติ ปราสาทหินพิมายนั้น ตั้งอยู่ที่อำเภอพิมาย
จังหวัดนครราชสีมา บริเวณอุทยานมีเนื้อที่ 115 ไร่ โดยปราสาทหินพิมายนั้นนับว่าเป็นปราสาทหินที่มีความงดงามและมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นพุทธสถานในลัทธิมหายาน ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ในสมัยของพระเจ้าสูรยวรมันที่
2 ซึ่งมีรูปแบบศิลปกรรมและสถาปัตกรรมมาแบบบาปวน
และนครวัด โดยชื่อปราสาทอย่างคำว่า
“พิมาย” นั้นมาจากคำเดิมในจารึกภาษาสันสกฤต คือ “วิมาย” และ “วิมายปุระ”
หมายถึงเมืองพิมาย
ความเก่าแก่ที่สืบเนื่องไปตามลายลักษณ์อักษรนี้อยู่ที่จารึกกรอบประตูพุทธสถานที่เราเรียกกันในปัจจุบันว่า
ปราสาทหินพิมาย จารึกกล่าวชื่อพระประติมา สร้างตามความเชื่อในวัฒนธรรมขอมองค์หนึ่งว่า
“กมรเตงชคตวิมาย” แปลว่า พระวิมายอันเป็นเทพเจ้าแห่งจักรวาล (ธิดา สาระยา)
และในปัจจุบันเองปราสาทหินพิมายถือว่าเป็นแหล่งโบราณสถานที่ผู้คนส่วนใหญ่รู้จัก
และเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวหากจะเดินทางไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ทำให้มีการเติบโตทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในบริเวณนั้น
ที่มา : https://www.matichon.co.th/prachachuen/prachachuen-scoop/news_641734 |
จากที่กล่าวมาข้างต้นทำให้เห็นว่าปราสาทหินพิมายนั้นเป็นโบราณสถานอีกแห่งหนึ่งที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง ในการย้อนอดีตหรือเพื่อศึกษาศิลปะความเป็นมาของสมัยนั้น เพื่อเป็นการตระหนักถึงสิ่งล้ำค่าของปราสาทหินแห่งนี้ ทำให้ผู้จัดทำเกิดความสนใจและใคร่ที่จะศึกษาข้อมูลและทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยวัตถุประสงค์ของผู้จัดทำนั้นคือ การรวบรวมและศึกษางานเขียนจากเอกสารด้านประวัติศาสตร์ ด้านศิลปะและสถาปัตกรรม ด้านการท่องเที่ยว และสื่อที่เป็นคลิปวิดีโอ เพื่อเป็นความรู้ในการทำสารคดี หรือเพื่อเป็นแหล่งความรู้ในอนาคตต่อไป
ในการจัดทำทบทวนวรรณกรรมครั้งนี้
ผู้จัดทำได้รวบรวมข้อมูลและแบ่งประเภทของเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้เป็น
2 ประเภท คือ
งานศึกษาจากเอกสาร และงานศึกษาจากคลิปวิดีโอ ซึ่งมีข้อมูลดังนี้
1) งานศึกษาจากเอกสาร
โดยงานศึกษาจากเอกสารนั้น ผู้จัดทำได้แบ่งย่อยออกเป็น 3 ประเด็น คือ 1.1) งานเขียนที่กล่าวถึงด้านประวัติศาสตร์ของปราสาทหินพิมายและวิถีชีวิตของผู้คนในเมืองพิมาย 1.2) งานเขียนที่กล่าวถึงด้านรูปแบบศิลปะและสถาปัตยกรรมของปราสาทหินพิมาย และ 1.3) งานเขียนที่กล่าวถึงการท่องเที่ยวและการนำชมสถานที่ของปราสาทหินพิมาย ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1.1) งานเขียนที่กล่าวถึงด้านประวัติศาสตร์ของปราสาทหินพิมายและวิถีชีวิตของผู้คนในเมืองพิมาย
งานในกลุ่มนี้ที่พบมีทั้งหมด 7 งาน ในช่วงปี พ.ศ. 2531 - 2562
1) งานศึกษาจากเอกสาร
โดยงานศึกษาจากเอกสารนั้น ผู้จัดทำได้แบ่งย่อยออกเป็น 3 ประเด็น คือ 1.1) งานเขียนที่กล่าวถึงด้านประวัติศาสตร์ของปราสาทหินพิมายและวิถีชีวิตของผู้คนในเมืองพิมาย 1.2) งานเขียนที่กล่าวถึงด้านรูปแบบศิลปะและสถาปัตยกรรมของปราสาทหินพิมาย และ 1.3) งานเขียนที่กล่าวถึงการท่องเที่ยวและการนำชมสถานที่ของปราสาทหินพิมาย ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1.1) งานเขียนที่กล่าวถึงด้านประวัติศาสตร์ของปราสาทหินพิมายและวิถีชีวิตของผู้คนในเมืองพิมาย
งานในกลุ่มนี้ที่พบมีทั้งหมด 7 งาน ในช่วงปี พ.ศ. 2531 - 2562
ลำดับที่ |
ชื่อผู้แต่ง |
ชื่อเรื่อง |
ปีที่พิมพ์ |
ประเภท |
1
|
กรมศิลปากร
|
เมืองพิมาย
|
2531
|
หนังสือ
|
2
|
ธิดา สาระยา
|
เมืองพิมาย
|
2535
|
หนังสือ
|
3
|
ธิดา สาระยา
|
เมืองประวัติศาสตร์
เมืองพิมาย เขาพระวิหาร เมืองอุบล เมืองศรีลัชชนาลัย |
2538 |
หนังสือ
|
พิชญา
สุ่มจินดา
|
ราวณะบุกยมโลกที่ปราสาทพิมาย
|
2555
|
บทความ
|
|
5
|
สินทรัพย์ ยืนยาว
|
2555 |
วิทยานิพนธ์
|
|
ข้อมูลจากกรมศิลปากร
|
Gorgeous Siam บันทึกจาก
9 อุทยานประวัติศาสตร์
|
2551
|
หนังสือ
|
|
7
|
2562 |
การวิจัย |
1.2) งานเขียนที่กล่าวถึงด้านรูปแบบศิลปะและสถาปัตยกรรมของปราสาทหินพิมาย
งานในกลุ่มนี้ที่พบมีทั้งหมด 5 งาน ในช่วงปี พ.ศ. 2540 - 2553
งานในกลุ่มนี้ที่พบมีทั้งหมด 5 งาน ในช่วงปี พ.ศ. 2540 - 2553
ลำดับที่ |
ชื่อผู้แต่ง |
ชื่อเรื่อง |
ปีที่พิมพ์
|
ประเภท |
1
|
มณีรัตน์ ภาจันทร์คู
|
2553 |
งานวิจัย
การค้นคว้า |
|
ผกา เบญจกาญจน์
|
2540 |
วิทยานิพนธ์ |
||
3
|
ลักษณ์ บุญเรือง
|
2547 |
วิทยานิพนธ์
|
|
วรรณวิภา สุเนต์ตา
|
2553 |
บทความ |
||
5
|
กรรณิการ์
สุธีรัตนาภิรมย์ |
2550 |
บทความ
|
1.3) งานเขียนที่กล่าวถึงการท่องเที่ยวและการนำชมสถานที่ของปราสาทหินพิมาย
งานในกลุ่มนี้ที่พบมีทั้งหมด 4 งาน ในช่วงปี พ.ศ. 2545 - 2557
งานในกลุ่มนี้ที่พบมีทั้งหมด 4 งาน ในช่วงปี พ.ศ. 2545 - 2557
ลำดับที่ |
ชื่อผู้แต่ง |
ชื่อเรื่อง |
ปีที่พิมพ์
|
ประเภท |
นคร สำเภาทิพย์
|
2545
|
หนังสือ
|
||
2
|
คู่มือท่องเที่ยว-เรียนรู้: ปราสาทหิน พิมาย พนมรุ้ง เมืองต่ำ ตาเมือน
เขาพระวิหาร |
2550
|
หนังสือ
|
|
3
|
2546 |
หนังสือ
|
||
4
|
สมภพ ชาตวนิช
|
2557 |
วิทยานิพนธ์
|
2)
งานศึกษาจากคลิปวิดีโอออนไลน์
งานคลิปวิดีโอที่ผู้จัดทำให้รวบรวมมานั้นมีทั้งหมด 3 เรื่อง ดังนี้
งานคลิปวิดีโอที่ผู้จัดทำให้รวบรวมมานั้นมีทั้งหมด 3 เรื่อง ดังนี้
ลำดับที่ |
แหล่งที่มา |
ชื่อเรื่อง |
ผู้ผลิตสื่อ |
1
|
“กระจกหกด้าน” ตอน
“พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย” |
||
2
|
|
กรมศิลป์ อยากเล่า
|
|
3
|
ที่มา : https://www.isangate.com/new/firstpage/32-art-culture/knowledge/540-pra-sat-hin.html |
จากการที่ได้ค้นคว้าเอกสารและทบทวนวรรณกรรมเบื้องต้นถึงงานที่เกี่ยวกับอุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติ ปราสาทหินพิมาย นั้นทำให้เห็นว่ามีเอกสารหลายเล่มที่ได้ศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์ทั้งส่วนของศิลปะและสถาปัตยกรรมของปราสาทหินพิมาย การท่องเที่ยวหรือสื่ออย่างคลิปวิดีโอที่เป็นรายการ ซึ่งทั้งหมดนั้นมี 19 เรื่อง โดยส่วนใหญ่แล้วด้วยความที่ปราสาทหินพิมายนั้นเป็นที่รู้สึกอย่างกว้างขวางพอสมควร จึงมีการใส่รายละเอียดทางประวัติความเป็นมาไว้อย่างครบถ้วน ซึ่งหนังสือเล่มที่เป็นต้นแบบในการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ คือหนังสือเรื่อง เมืองพิมาย โดยธิดา สาระยา และนอกจากเรื่องประวัติศาสตร์ที่สำคัญแล้ว ปราสาทหินพิมายยังสำคัญในด้านอื่นๆ อย่างเช่น เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม เป็นแหล่งโบราณคดีที่ล้ำค่ายิ่งของเมืองไทย และจากการที่ได้สังเกตบทความทางวิชาการนั้น จะมีคนรุ่นใหม่ที่สนใจศึกษาแนวทางการปรับปรุงทัศนียภาพของตัวบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ การนำเสนอในเชิงท่องเที่ยว อย่างวิทยานิพนธ์เรื่อง แนวทางการปรับปรุงภูมิทัศน์อุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติพิมาย โดยมณีรัตน์ ภาจันทร์คู และมีการศึกษาถึงปราสาทหินพิมายในการอนุรักษ์หรือบูรณะโบราณสถานแบบอนัสซิโตซิส ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกขอไทยและทำให้ปราสาทหินพิมายนั้นดูเป็นแหล่งโบราณคดีที่เป็นต้นแบบในการบูรณะ จากบทความเรื่อง ว่าด้วยประวัติศาสตร์การบูรณะโบราณสถานแบบอนัสติโลซิสที่ปราสาทหินพิมาย และนอกเหนือจากนี้ยังมีแหล่งข้อมูลหรือสื่ออีกหลายชิ้นที่มีความน่าสนใจทางด้านเนื้อหาสาระความรู้ทางวิชาการ ที่สามารถนำมาทบทวนเอกสารและใช้ในการเขียนสารคดีได้ต่อไป