Thursday, August 27, 2020

สุสานจักรพรรดิตือดึก (Tomb of Tu Duc) : ร่องรอยความงดงามในอดีต

สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันอีกแล้วนะคะ กับบล็อกที่จะพาทุกคนไปสัมผัสกับสถานที่ท่องเที่ยวในเอเชียอาคเนย์ที่มีทั้งประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่น่าสนใจ มีมนตร์เสน่ห์แห่งวัฒนธรรม และเต็มไปด้วยเรื่องราว โดยในครั้งนี้เองเราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ในประเทศเวียดนามกันค่ะ 

เมื่อพูดถึงเวียดนามเชื่อว่าใครหลายคนก็น่าจะเคยได้ยิน และรู้จักสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหลายแห่งกันแล้วใช่ไหมล่ะคะ วันนี้เราเลยอยากนำเสนอ สุสานจักรพรรดิตือดึก ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่มีความสวยงามและมีชื่อเสียงของเวียดนามกลางเป็นอย่างมาก และก่อนจะพาทุกคนไปดูความสวยงามของสถานที่แห่งนี้ เรามาดูประวัติความเป็นมากันดีกว่าค่ะ 

สุสานจักรพรรดิตือดึก
ที่มา : https://www.govietnamtravel.asia/hue-tours-highlights-place-to-visit/

สุสานจักรพรรดิตือดึก (Tomb of Tu Duc) ตั้งอยู่ที่จังหวัดเถื่อเทียน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเว้ไปประมาณ 5 กิโลเมตร สุสานแห่งนี้นั้นนับว่ามีขนาดที่ไม่ใหญ่มาก แต่มีความสวยงามลงตัวกับธรรมชาติ 

สุสานจักรพรรดิตือดึกนั้น มีที่มาจากพระเจ้าตือดึกซึ่งเป็นจักรพรรดิของเวียดนามในสมัยก่อน โดยตามบันทึกกล่าวว่าพระเจ้าตือดึกเป็นโอรสของพระเจ้าเกี่ยวจิและเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์เหงียนที่ทรงครองราชย์เป็นเวลานานที่สุดในราชวงศ์ คือ 36 ปี นั้นได้ทรงออกแบบเองเกือบทั้งหมด โดยได้สร้างสุสานแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1864 แล้วเสร็จในปี ค.ศ.1867 ใช้แรงงานคนถึง 3,000 คน องค์ประกอบของสุสานมีความงดงามกลมกลืนกับธรรมชาติแวดล้อม มองผ่าน ๆ ดูคล้ายกับพระราชวังหลวงจำลองขนาดเล็ก พระเจ้าตือดึกเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิของเวียดนามที่ทรงเป็นที่รู้จักในฐานะนักปราชญ์ ทรงมีพระชายามากกว่า 100 พระองค์ รวมถึงข้าราชบริพารอีกจำนวนมาก

จักรพรรดิตือดึก
ที่มา : https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Vua_Tu_Duc.jpg


จุดเด่นของสุสานแห่งนี้ คือ ตำหนัก 2 แห่ง ได้แก่ ตำหนักลูเคียม อาคารไม้เก่าแก่ที่ตั้งอยู่ริมทะเลสาบ รายล้อมด้วยดอกบัวบานสะพรั่ง เป็นสถานที่ที่พระองค์ทรงโปรด โดยทรงใช้เวลาว่างในตำหนักแห่งนี้นิพนธ์บทกวี และพักผ่อน และตำหนักอีกแห่งที่ได้รับการกล่าวขวัญกันมากกว่าคือ ตำหนักซุงเคียม ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ค.ศ. 1865 โดยบันไดตำหนักนั้นทอดตัวไปสู่สุสานเลืองเคียม ซึ่งเป็นสถานที่เก็บรักษาเครื่องเรือน แจกันและหีบเครื่องประดับ เลยออกไปจะเป็นลานที่ทอดไปสู่สุสาน มีหินสลักขุนนาง ช้าง ม้า

ด้านหน้าของสุสานจักรพรรดิตือดึก 
ที่มา : https://dulichkhampha24.com/kham-pha-lang-tu-duc-hue.html

และถัดมาที่ “บ๋ายดิ๋ง” บริเวณส่วนกลางของสุสานที่มีศิลาจารึกขนาดใหญ่ซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 22 ตัน โดยลักษณะคือ มีรูปปั้นหินตั้งเรียงรายกันอยู่หลายรูป อาทิ รูปปั้นช้าง ม้าศึก พลรบ ขุนนางทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ด้านหน้าลานจะมีแผ่นศิลาจารึกหรือหินแกะสลักชีวประวัติของกษัตริย์ในสุสาน ซึ่งส่วนใหญ่เขียนโดยรัชทายาทหรือผู้สืบบัลลังก์ และใกล้ๆ กันจะเป็นหอบูชาที่เรียกว่า “ตามเซียน” เป็นที่ที่บรรดาราชวงศ์และเชื้อพระวงศ์มาสักการบูชาองค์จักรพรรดิ หรือราชินีที่สิ้นพระชนม์ตามประเพณี

ส่วนอาคารทรงโรงขนาดใหญ่นั้นเป็นโรงละครสมัยที่พระองค์ยังมีชีวิตอยู่ ส่วนตัวสุสานฝังพระศพของพระเจ้าตือดึกนั้นอยู่ด้านในสุด ทั้งนี้เพื่อป้องกันการโจรกรรม สุสานแห่งนี้จึงมีเพียงพระศพจำลองเท่านั้น

ตัวอย่างลักษณะของบ๋ายดิ๋ง
ที่มา : https://nghiencuulichsu.com/2016/12/29/tim-hieu-ve-con-nguoi-vua-tu-duc/

บรรยากาศรอบ ๆ สุสานจักรพรรดิตือดึก
ที่มา : https://dulichkhampha24.com/kham-pha-lang-tu-duc-hue.html

เป็นยังไงกันบ้างค่ะกับการได้ทำความรู้จักสุสานจักรพรรดิตือดึก คิดว่าหลายคนอาจจะยังไม่คุ้นกับชื่อสถานที่นี้นัก แต่เมื่อได้ทราบแล้วว่าสถานที่แห่งนี้มีประวัติศาสตร์ความเป็นมา และความน่าสนใจยังไง ก็อยากให้ทุกคนเมื่อมีโอกาสได้ออกไปท่องเที่ยวที่ประเทศเวียดนาม อย่าลืมลิสต์ให้สถานที่นี้เป็นตัวเลือกปลายทางในใจด้วยนะคะ สำหรับครั้งนี้ขอตัวลาไปก่อนแล้วพบกันใหม่ในครั้งหน้านะคะ สวัสดีค่ะ! 



อ้างอิงที่มา 

สุสานจักรพรรดิตือดึ๊ก จังหวัดเถื่อเทียน เว้ ประเทศเวียดนาม. สืบค้นวันที่ 26 สิงหาคม 2563, จาก https://palanla.com/index.php?op=abroadLocation-detail&id=299

Tuyết Nhi. Khám  lăng Tự Đức Huế – công trình lăng tẩm đẹp nhất thế kỷ 19. สืบค้นวันที่ 26 สิงหาคม 2563, จาก https://dulichkhampha24.com/kham-pha-lang-tu-duc-hue.html

Friday, August 14, 2020

การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากยุคหินเก่า ยุคหินใหม่ และยุคเริ่มแรกอารยธรรม

สวัสดีค่ะ เป็นยังไงกันบ้างคะกับช่วงที่ผ่านมากับสถานการณ์โลกในปัจจุบัน คงมีเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้เราต้องปรับตัวกันเป็นอย่างมากเลยใช่ไหมล่ะคะ หรืออาจจะเป็นชีวิตประจำวันที่เราเองก็ต้องปรับตัวอยู่เสมอเมื่อพบปัญหาเข้ามา ซึ่งในโลกปัจจุบันนี้อะไร ๆ ก็ดูจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเสียหมด จนเราเองก็พลอยที่จะต้องเร่งรีบปรับเปลี่ยนตัวเองให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงนั้นด้วยเช่นกัน 

ดังเช่นในอดีต ในยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคเริ่มแรกของประวัติศาสตร์ มนุษย์ในยุคนั้นเองก็ต้องรู้จักเปลี่ยนแปลงและปรับเปลี่ยนตัวเองตลอดเวลาเช่นกันค่ะ เพราะในตอนแรกต้องอยู่ร่วมกับธรรมชาติ และต้องริเริ่มเรียนรู้การดำรงชีวิตอยู่ให้ได้ และเมื่อเวลาผ่านไป ความต้องการของมนุษย์ก็มีมากยิ่งขึ้น จนก่อเกิดเป็นพัฒนาการขึ้นในที่สุด โดยในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและพัฒนาการที่เด่นชัดที่สุดคือช่วงรอยต่อระหว่างยุคหินใหม่และยุคเริ่มแรกอารยธรรมค่ะ เรามาเรียนรู้กันดีกว่าว่าการดำรงชีวิตของมนุษย์ในยุคนั้น มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไรบ้าง! 






ยุคหินเก่า (Paleolithic Era)   

-
-
-
-
-
-

ยุคหินใหม่ (Neolithic Era)

-
-
-
-
-


ที่มา : https://www.shorthistory.org/prehistory/language-and-spiritual-culture-in-old-stone-age/

ยุคแรกเริ่มอารยธรรม (The first city and Civilization)

-
-
-
-
-
-


ที่มา : https://geography.name/agricultural-revolution/











Thursday, August 6, 2020

วิวัฒนาการของมนุษย์

 วิวัฒนาการของมนุษย์ 

มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ได้ถือกำเนิดและมีต้นกำเนิดบนโลกใบนี้มาอย่างยาวนานแล้ว พวกเราคงทราบกันแล้วใช่ไหมคะ แต่คุณทราบหรือไม่ว่ามนุษย์เป็นอีกหนึ่งสิ่งมีชีวิตมีมีพัฒนาการการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม และมีการเรียนรู้ต่อเนื่องเป็นเวลานานอย่างน่าอัศจรรย์ การเรียนรู้นั้นต่อยอดขึ้นมาให้ดียิ่งขึ้นในแต่ละยุคสมัย ทั้งยังเป็นต้นแบบวิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งสายพันธุ์ของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ยังเป็นที่น่าสนใจ และที่ ได้ปรากฏหลงเหลือร่องรอยหลักฐานและฟอสซิล โดยได้แบ่งตามแต่ละลักษณะดังนี้

Australopithecine สมองใหญ่เพียง 1 ใน 3 ของมนุษย์ปัจจุบัน ยืนได้สองขาและยืนตัวตรง Homo Habilis สมองมีพัฒนาการมากขึ้น ใช้หินเป็นเครื่องมือ Homo Erectus เรียนรู้การใช้ไฟ ใช้หินเป็นเครื่องมือ Homo Sapiens อพยพมาจากรอบโลก เป็นมนุษย์สมัยใหม่ เรียนรู้การสร้างไฟ มีการพัฒนาภาษา

        โดย Homo Sapiens หรือมนุษย์ยุคปัจจุบันนั้น ได้ค้นพบหลักฐานร่องรอยเป็นฟอสซิลอยู่ในบริเวณเอเชีย ที่เชื่อว่าอพยพมาจากบริเวณอื่น ดังเช่น มนุษย์ปักกิ่ง (Peking Man) ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1923 มนุษย์ปักกิ่งเป็นกลุ่มบรรพบุรุษที่อาศัยอยู่ในจีนระหว่าง 200,000 และ 750,000 ปีที่ผ่านมา โดยพบร่องรอยการทำงานไม้ การใช้ไฟ การเจาะรูในวัตถุมนุษย์ชวา (Java Man) เป็นฟอสซิลของมนุษย์ในกลุ่มแรก ๆ ที่ถูกค้นพบ โดยพบในเกาะชวา(อินโดนีเซีย) ในปี 1891 และ 1892 นำโดยนักสำรวจชาวฝรั่งเศส โดยค้นพบฟัน กะโหลกศีรษะ โครงกระดูก ในบริเวณริมฝั่งแม่น้ำในชวาตะวันออก

ที่มา : https://alchetron.com/Java-Man

การปรับเปลี่ยนความเป็นอยู่ของมนุษย์
ในยุคหินเก่าและยุคหินใหม่ ยุคหินเก่า เป็นยุคที่มีการใช้หินและกระดูกสัตว์นำมาทำเป้นเครื่องมือและอาวุธเสียส่วนใหญ่ มีการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม เนิ่มรู้จักการเพาะปลูกแบบง่าย ๆ เริ่มรู้จักประดิษฐ์สร้างร่องรอยวัฒนธรรม เช่น ภาษา ศิลปะหรือความเชื่อ โดยยุคเริ่มแรกเช่นนี้ความเชื่อนั้นก้คือการเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติ ยุคหินใหม่ เป็นยุคแห่งการเกษตรกรรม มีการเพาะปลูก การรู้จักหาแหล่งอาหารใหม่ และมีการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเป็นครั้งแรก และรู้จักการผลิตนม เนื้อ หนัง หรือขนของสัตว์

ที่มา : https://www.silpa-mag.com/history/article_26940
        จากที่ได้ทราบเรื่องราวของมนุษย์หรือสายพันธุ์ของเราเองในอดีตแล้วคิดเห็นกันอย่างไรบ้างคะ มนุษย์สามารถดำรงเผ่าพันธุ์และอยู่บนโลกใบนี้โดยไม่สูญพันธุ์ไป เกิดขึ้นได้อย่างไรกัน ถ้าไม่ใช่เพราะการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม มนุษย์ในอดีตรู้จักการปรับตัวและต่อยอดสิ่งที่ยุคก่อนหน้ามีอยู่เสมอ แล้วพวกเราล่ะคะ พวกเราเป็นมนุษย์ยุคปัจจุบันที่ได้ดำรงชีวิตที่ถือว่าง่ายกว่า ทุกอย่างสะดวกสบายกว่าในยุคก่อนประวัติสาสตร์ แต่พวกเราเองก็ต้องรู้จักปรับตัวให้เข้ากับบริบทในชีวิตเช่นเดียวกัน เพราะการปรับตัวนั้นจะทำให้เราอยู่รอด

วัดเชียงทอง (Xieng Thong Temple) : อัญมณีศิลปะล้านช้างแห่งหลวงพระบาง

สวัสดีค่ะ ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยเลย หวังว่าทุกคนคงจะสบายดีกันนะคะ ครั้งนี้ก็กลับมาพบกันอีกเช่นเคยกับบล็อกที่จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับส...