Thursday, October 15, 2020

วัดเชียงทอง (Xieng Thong Temple) : อัญมณีศิลปะล้านช้างแห่งหลวงพระบาง

สวัสดีค่ะ ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยเลย หวังว่าทุกคนคงจะสบายดีกันนะคะ ครั้งนี้ก็กลับมาพบกันอีกเช่นเคยกับบล็อกที่จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและงดงามราวกับตกอยู่ใต้มนตร์สะกด 

ในครั้งนี้เราจะพาทุกคนเดินทางไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่มีความใกล้ชิดและมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันมาเสมอตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ใช่ค่ะ ประเทศลาว นั่นเอง เป็นอย่างที่ทราบกันดีนะคะว่าลาวเองก็มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม และมีวัดมากมาย ทั้งชีวิตของคนที่นั่นก็ดูเรียบง่ายเสียจริง เราเองก็มีสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติสาสตร์ที่อยากแนะนำทุกคนให้ได้รู้จัก นั่นก็คือ วัดเชียงทอง ณ หลวงพระบางนั่นเองค่ะ วัดเชียงทองจะมีประวัติศาสตร์ความเป้นมาอย่างไร และมีอะไรน่าสนใจบ้าง เราตามไปดูกันเลย! 

ภาพบรรยากาศ ณ วัดเชียงทอง
ที่มา : https://www.sofitel-luangprabang.com/things-to-do-luang-prabang/wat-xieng-thong-temple/

วัดเชียงทอง อยู่ที่นครหลวงพระบางซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศลาว เดิมทีวัดเชียงทองแห่งนี้เคยเป็นวัดหลวงประจำราชวงศ์ล้านช้าง ราชวงศ์หลวงพระบาง และราชวงศ์ลาว สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2103 ในรัชกาลของสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์ผู้ปกครองราชอาณาจักรล้านช้าง ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำโขง เป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมแบบล้านช้างตอนเหนือที่วิจิตรงดงามมาก จนได้รับการขนานนามว่าเป็น "อัญมณีของศิลปะล้านช้าง" 


สิม หรือพระอุโบสถ
ที่มา : https://www.mushroomtravel.com/page/wat-xieng-thong-buddhist-temple-in-luang-prabang-laos/

สิมวัดเชียงทอง หรือพระอุโบสถวัดเชียงทอง ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์สำคัญของวัดแห่งนี้ ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมล้านนา ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้นำช่างหลวงไปจากเชียงใหม่ และได้ต้นแบบการสร้างมาจากวิหารวัดโลกโมฬีเชียงใหม่ราชอาณาจักรล้านนา สร้างด้วยการก่ออิฐถือปูน โดยสิ่งที่โดดเด่นคือหลังคาซ้อน 3 ตับ ซึ่งดัดอ่อนโค้งและลาดต่ำลงมามาก บนกลางสันหลังคามีการทำช่อฟ้าหรือ สัตตะบูริพัน อันเป็นการจำลองจักรวาลตามคติพุทธศาสนา หน้าบันแกะสลักเป็นรูปลายดอกตาเว็นหรือลายดวงอาทิตย์ สิมแห่งนี้ได้รับการบูรณะเมื่อ พ.ศ. 2471 บนผนังทั้งด้านนอกและด้านในประดับด้วยลายรดน้ำปิดทองบนพื้นสีดำ เรียกว่า "ลายฟอกคำ" ส่วนด้านหลังของสิมประดับด้วยภาพประดับกระจกสีเป็นภาพต้นทอง และภายในประดิษฐานพระประธาน 

ภาพต้นทองหลังสิมหรือพระอุโบสถ
ที่มา : https://www.renown-travel.com/laos/temples/wat-xieng-thong.html

พระประธาน
 หรือชาวลาวเรียกว่าพระองค์หลวง ภายในพระอุโบสถเป็นสีทองงดงามอร่ามตาด้านข้างพระองค์หลวงมีพระบางจำลอง และผนังด้านหลังของพระอุโบสถเป็นภาพที่เกิดจากการใช้กระจกสีตัด ติดต่อกันเป็นรูปต้นทองขนาดใหญ่ ซึ่งเคยมีในเมืองหลวงพระบางลักษณะคล้ายต้นโพธิ์ ด้านข้างต้นทองเป็นรูปสัตว์ในวรรคดียามใดที่แสงแดดสดส่องสะท้อนดูงดงาม

โรงเมี้ยนโกศ
ที่มา : https://12in12traveler.com/destinations/asia/laos/luang-prabang/wat-xieng-thong

โรงเมี้ยนโกศ หรือโรงเก็บราชรถพระโกศของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2505 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัด ลักษณะเป็นโถงกว้าง ผนังด้านหน้าตั้งแต่หน้าบันลงมาจนถึงพื้นสามารถถอดออกได้เพื่อให้สามารถเคลื่อนราชรถออกมาได้

กลางโรงเมี้ยนโกศเป็นที่ตั้งราชรถไม้แกะสลักปิดทองคำเปลวรอบคัน มีพระโกศสามองค์ตรงกลางเป็นองค์ใหญ่ของเจ้าสว่างศรีวัฒนา ด้านหลังเป็นของพระราชมารดา ส่วนด้านหน้าเป็นของพระเจ้าอา โรงเก็บราชรถนี้ออกแบบโดยเจ้ามณีวงศ์ และใช้ช่างชาวหลวงพระบางชื่อ เพียตัน นับว่าเป็นช่างฝีมือดีประจำพระองค์ มีความชำนาญทั้งด้านงานเขียนและงานแกะสลัก


หอไหว้พระสีกุหลาบ
ที่มา : https://blog.curious-cat-travel.net/2015/04/mosaic-art-at-wat-xieng-thong-luang-prabang-laos/

หอพระม่าน
ที่มา : https://12in12traveler.com/destinations/asia/laos/luang-prabang/wat-xieng-thong

หอพระม่าน ผนังของหอพระม่านด้านนอกมีลักษณะคล้ายกับวิหารองค์แรก ภายในวิหารนี้ประดิษฐาน พระม่าน ในช่วงวันขึ้นปีใหม่จะมีการอันเชิญมาให้ประชาชนสรงน้ำและกราบไหว้เป็นประจำทุกปี ผนังด้านหลังวิหารทาด้วยสีชมพูประดับด้วยกระจกสีแสดงถึงวิถีชีวิตของผู้คน สร้างขึ้นใน พ.ศ.2493 เพื่อเฉลิมฉลองที่โลกก้าวสู่ยุคกึ่งพระพุทธกาล 

หอไหว้พระสีกุหลาบ ที่ได้ชื่อว่าหอไหว้พระสีกุหลาบนั่นก้เพราะผนังภายนอกมีสีแดงคล้ายสีของกุหลาบ ทั้งยังมีความน่าสนใจคือมีการประดับตกแต่งผนังด้วยกระจกหลากสีเป็นภาพต่าง ๆ และได้สอดแทรกเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวลาวในสมัยก่อน หรือการสั่งสอนธรรมะ และภายในประดิษฐาน
พระพุทธไสยาสน์ หรือพระนอน  


  • เวลาทำการ : เปิดบริการทุกวัน เวลา 06.00 น. - 17.30 น.
  • ค่าเข้าชม : 20,000 กีบ/คน
  • การเดินทาง : รถมอเตอร์ไซค์ หรือรถรับจ้างท้องถิ่น

เป็นยังไงกันบ้างคะสำหรับการได้ทำความรู้จักกับวัดเชียงทอง งดงามน่าตื่นตามากเลยใช่ไหมละคะ ส่วนตัวเรามองว่าสถานที่นี้มันสวยงามแบบอ่อนช้อย เรียบง่าย สวยแบบที่ว่าไม่จำเป็นต้องยิ่งใหญ่อลังการ แต่มันมีความงดงามในแบบเฉพาะของตัวมันเอง ไม่ว่าจะเป็นสีหรือลวดลายต่าง ๆ ก็ถือว่าเหมาะมาก ๆ กับการที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นอัญมณีแห่งศิลปะล้านช้าง ถ้ามีโอกาสเรามั่นใจว่าเราต้องลองไปที่วัดเชียงทองแห่งนี้ให้ได้สักครั้งในชีวิตเลยค่ะ แล้วสำหรับคุณล่ะคะ คิดเห็นกันอย่างไรบ้าง 

สำหรับครั้งนี้เราก็ต้องขอตัวลาไปก่อนนะคะ แล้วพบกันใหม่ในโอกาสหน้ากับสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจแห่งถัดไป ขอบคุณที่เข้ามาอ่านและติดตามกันมาก ๆ เลยนะคะ 



อ้างอิง
วัดเชียงทอง. สืบค้นวันที่ 15 ตุลาคม 2563. สืบค้นจาก https://readthecloud.co/wat-xieng-thong/
วัดเชียงทอง หลวงพระบาง "อัญมณีแห่งสถาปัตยกรรมสกุลช่างล้านช้าง". สืบค้นวันที่ 15 ตุลาคม 2563.
สืบค้นจาก http://www.oceansmile.com/Lao/ChaingtongWat.htm
วัดเชียงทอง สุดยอดอัญมณีศิลปะล้านช้างแห่งหลวงพระบาง ประเทศลาว. สืบค้นวันที่ 15 ตุลาคม 2563 . สืบค้นจาก 
https://palanla.com/index.php?op=abroadLocation-detail&id=188


Monday, October 12, 2020

เจดีย์ชเวสิกอง (Shwezigon Pagoda) : มหาเจดีย์อันศักดิ์สิทธิ์แห่งพุกาม

มิงกาลาบา! กลับมาพบกันอีกครั้งแล้วนะคะกับบล็อกที่จะพาทุกคนไปสัมผัส และเรียนรู้เรื่องราวสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในครั้งนี้เราจะพาไปรู้จักสถานที่แห่งไหนนั้น มาชมไปพร้อมกันเลย! 

ใช่แล้วค่ะ ในครั้งนี้เราจะมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับ เจดีย์ชเวสิกอง ซึ่งอยู่ในเมืองพุกาม ประเทศเมียนมา ประเทศเพื่อนบ้านเรานั่นเองค่ะ หลายคนเองก็อาจจะเคยได้ยินชื่อเจดีย์นี้กันมาบ้างแล้วตามสื่อสารคดีหรือตามในโซเชียลมีเดียใช่ไหมล่ะค่ะ แต่ก็อาจจะรู้จักแค่ชื่อว่าเป็นโบราณสถานที่มีชื่อเสียง แต่ยังไม่รู้รายละเอียด ดังนั้นเราจะมาเล่าให้ฟังค่ะว่าเจดีย์ชเวสิกองแห่งนี้ มีเรื่องราวความเป็นมายังไง และสำคัญยังไงบ้างค่ะ


เจดีย์ชเวสิกอง
ที่มา : https://palanla.com/index.php?op=abroadLocation-detail&id=325

เจดีย์ชเวสิกอง (Shwezigon Pagoda) ตั้งอยู่ที่เมืองพุกาม ประเทศเมียนมา (ชื่อในปัจจุบัน) มีความเป็นมาดังนี้ คือตามบันทึกของพงศาวรดารพม่า ได้กล่าวว่าเจดีย์ชเวสิกอง ถูกสร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ.1602-1603 หรือกว่า 900 ปีมาแล้ว โดยผู้สร้างเจดีย์แห่งนี้คือพระเจ้าอโนรธามังช่อ หรือกษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์พุกาม และเป็นผู้รวบรวมแผ่นดินแถบนั้นจนเป็นปึกแผ่นและตั้งอาณาจักรพุกามขึ้นมา 

การก่อสร้างเจดีย์ใช้เวลายาวนานกว่ายี่สิบปี จนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 1629 ซึ่งเป็นรัชสมัยของพระเจ้าจานสิตา ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันนั้น เจดีย์ชเวสิกองได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวหลายต่อหลายครั้ง แต่ก็ได้รับการบูรณะซ่อมแซมเป็นอย่างดีมาโดยตลอด โดยการบูรณะครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2527 นั้นใช้แผ่นทองคำจำนวนกว่า 30,000 แผ่น จากการบริจาคของผู้คนทั่วประเทศ จึงทำให้มหาเจดีย์แห่งนี้ยังคงมีสีทองอร่ามมาจนถึงปัจจุบัน 



ที่มา :  tripexperienceblog.com/heritage/shwezigon-pagoda/

เจดีย์ชเวสิกองนั้นนับว่าเป็นหนึ่งในห้ามหาเจดีย์ของประเทศพม่า โดยเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุสำคัญทั้งหมด 3 ส่วน คือ พระทันตธาตุหรือพระเขี้ยวแก้ว ที่กษัตริย์แห่งศรีลังกานำมาถวาย พระธาตุกระดูกไหล่ ที่นำมาจากเมืองศรีเกษตร และพระธาตุพระนลาฏ

เจดีย์ชเวสิกองนั้นเป็นทรงระฆังคว่ำสูง 160 เมตร อยู่บนฐาน 3 ชั้น มีบันไดขึ้นทั้ง 4 ทิศ รูปทรงคล้ายพีระมิดที่มุมประดับเจดีย์รายที่วางบนหม้อน้ำมนต์ แต่ละชั้นมีใบเสมาขนาดเล็กเรียงเป็นราวระเบียง ท้องไม้่ของฐานประดับด้วยแผ่นดินเผาเคลือบสลักเรื่องชาดก 550 ชาติ องค์ระฆังมีลวดลายคาดตรงกลาง ใต้สายคาดเป็นลายเฟื่องอุบะ เหนือสายคาดเป็นลายกรวยเชิงสามเหลี่ยม หัวระฆังมีลายพวงอุบะสามเหลี่ยมห้อยลงมา เหนือองค์ระฆังเป็นปล้องไฉน ปัทมบาทปลียอดและฉัตร องค์ระฆังหุ้มด้วยโลหะปิดด้วยทองคำเปลว (ทองจังโกหรือทองสำริดปิดด้วยทองคำเปลว) ให้อิทธิพลมายังเจดีย์ของล้านนาไทยด้วย

ด้านในเจดีย์ นั้นบรรจุพระทันตธาตุและพระบรมสารีริกธาตุ โดยอัญชิญมาจากลังกา บนหลังช้างเผือก พระเจ้าอโนรธาได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าช้างเผือกคุกเข่าลงที่ใด จะสร้างเจดีย์ไว้ที่นั่น เจดีย์ชเวสิกองจึงเปรียบเสมือนสัญลักษณ์แห่งชัยชนะของพม่าที่มีเหนือมอญ และยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความศรัทธาในศาสนาพุทธนิกายเถรวาท


ที่มา : www.pinterest.com/pin/265219865534892038/

ที่มา : www.worldtourcenter.com/มหาเจดีย์ชเวสิกอง-shwezigon-paya

การเดินทาง : รถแท็กซี รถเช่ารับจ้าง หรือรถม้า 

เวลาทำการ : เจดีย์ชเวสิกองหรือเจดีย์อื่น ๆ เปิดให้เข้าชมตลอด 24 ชม. 
ค่าเข้าชม : 25,000 จ๊าด 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับการได้ทำความรู้จักและสัมผัสกับเจดีย์ชเวสิกอง เจดีย์ชเวสิกองที่นับว่าเป็นมหาเจดีย์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่สักการะยึดเหนี่ยวจิตใจอย่างแรงกล้าของคนพม่าแทบจะทุกคน สำหรับเราซึ่งสิ่งนี้เองที่นับว่าเป็นสเน่ห์อีกอย่างหนึ่งของประเทศเมียนมา ผู้คน การดำรงชีวิตและความเชื่อนั้นเป็นสิ่งที่ยึดโยงและผูกพันกันมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เราเองก็อยากจะฝากสถานที่นี้ไว้ในใจของทุกคนกันนะคะ หวังว่าถ้ามีโอกาสจะลองออกไปเที่ยวชมเจดีย์ชเวสิกองกันนะคะ สำหรับครั้งนี้ เราขอตัวลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่ในครั้งหน้ากับสถานที่น่าสนใจอื่น ๆ ค่ะ สวัสดีค่ะ! 




อ้างอิง

เจดีย์ชเวสิกอง เมืองพุกาม ประเทศพม่า. สืบค้นวันที่ 12 ตุลาคม 2563. สืบค้นจาก https://palanla.com/index.php?op=abroadLocation-detail&id=325

พระเจดีย์ชเวสิกอง. สืบค้นวันที่ 12 ตุลาคม 2563. สืบค้นจาก https://www.angelstartravel.com/content-detail.php?data=พระเจดีย์ชเวสิกอง.html

เจดีย์ชเวสิกอง พุกาม 1 ใน 5 มหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งพม่าที่ต้องไปสักการะ. 

สืบค้นวันที่ 12 ตุลาคม 2563. สืบค้นจาก https://www.lovelysmiletour.com/news-detail.php?id=216

Wednesday, September 16, 2020

ปราสาทพนมบาเค็ง (Phnom Bakheng) : ศาสนสถานแห่งแรกของเมืองพระนคร

สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันอีกเช่นเคยนะคะ กับบล็อกที่จะพาทุกคนไปทำความรู้จักสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีทั้งความงดงาม ความทรงจำ และคุณค่าทางจิตใจที่ไม่สามารถประเมินเป็นมูลค่าได้ 

เมื่อพูดถึงชื่อประเทศกัมพูชาแล้ว หลายคนอาจจะนึกถึงนครวัดหรือนครธมอันเลื่องชื่อและโด่งดังในแวดวงสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ใช่ไหมล่ะค่ะ แต่ในวันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักสถานที่อีกแห่งหนึ่งค่ะ ที่ถึงแม้จะไม่ได้เลื่องชื่อเป็นเป็นที่รู้จักมากนักในหมู่คนไทยส่วนใหญ่ แต่ก็ถือว่าเป็นสถานที่ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งเลยก็ว่าได้ สถานที่แห่งนั้นคือ "ปราสาทพนมบาเค็ง" นั่นเองค่ะ ถ้าพร้อมแล้ว ไปทำความรู้จักกันเลย! 


แผนผังปราสาทพนมบาเค็ง
ที่มา : https://www.wmf.org/project/phnom-bakheng


ปราสาทพนมบาเค็ง (Phnom Bakheng) ตั้งอยู่บนยอดภูเขาลูกเล็กประมาณ 75 เมตร จากระดับน้ำทะเล ใกล้ ๆ กับปราสาทนครวัด และเมืองนครธม จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 15 ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 1432 - 1453 เป็นศาสนาสถานฮินดูสร้างถวายแด่พระศิวะเจ้า 

ปราสาทพนมบาเค็งนี้เองมีชื่อเรียกในสมัยโบราณว่าปราสาทพนมกันดาล (พนม แปลว่า ภูเขา, กันดาล แปลว่า กลาง) ตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างปราสาทพนมกรอมกับปราสาทพนมบก ซึ่งอยู่บนภูเขาขนาดใกล้เคียงกัน ต่อมาเรียกปราสาทนี้ว่า ปราสาทพนมบาเค็งตามลักษณะของต้นบาแคง (คล้ายต้นมะขาม) ที่มีอยู่มากในบริเวณภูเขานี้ ชื่อของปราสาทดั้งเดิมจริงๆ นั้นเรียกว่า ปราสาทยโศธระปุระ ที่มีที่มาจากพระนามของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 นั่นเอง


ที่มา : www.flickr.com/photos/87227168@N07/30012372047


ปราสาทพนมบาเค็ง ถือว่าเป็นศาสนสถานแห่งแรกของเมืองพระนคร โดยทางขึ้นจะอยู่ทางทิศตะวันออกเป็นเขาสูงชัน ปัจจุบันตัวปราสาททรุดโทรมลงมากแต่ยังมีความยิ่งใหญ่ เริ่มจากบันไดขึ้นสู่ปรางค์ประธานที่มีอยู่ 5 ชั้น แต่ละชั้นมีปรางค์เล็ก 12 ปราสาท รวม 5 ชั้น มี 60 ปราสาท ส่วนบนยอดมีปรางค์บริวารล้อมรอบปรางค์ประธานอีก 4 ปราสาท เสมือนเป็นการจำลองยอดเขาพระสุเมรุที่รวมทั้งหมดมี 89 ยอด

ตัวปราสาทอยู่ใจกลางของยอดเขา และปราสาทพนมบาเค็งนี้เองได้จำลองลักษณะมาจากปราสาทบากอง มีสถาปัตยกรรมคล้ายกัน รูปทรงแบบปิรามิด ที่ตัวระเบียงแต่ละชั้นมีปราสาทเล็กๆ 4 มุม ภายในปรางค์ประธานมีศิวลึงค์ตั้งอยู่ตั้งแต่ พ.ศ.1450 ในปีที่เริ่มสร้างปราสาท ในขณะที่การก่อสร้างยังคงดำเนินต่อไปจาก พ.ศ. 1450-1471 นานถึง 21 ปี หลังจากนั้นอีก 40 ปีในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ได้มีการบูรณะซ่อมแซมปราสาทนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก พระพุทธรูปที่เห็นในปรางค์ประธานนั้น มีการอัญเชิญพระพุทธรูปขนาดใหญ่ขึ้นไปประดิษฐานบนแท่นหินทรายแทนศิวลึงค์เมื่อ พ.ศ. 2059


ที่มา : https://fi.pinterest.com/pin/50876670774755434/


ที่มา : https://www.locationscout.net/cambodia/8223-phnom-bakheng

ตัวปราสาทพนมบาเค็งตั้งอยู่บนยอดเขา จึงเป็นจุดชมวิวที่สวยงาม โดยเฉพาะเห็นยอดปราสาทนครวัดผุดขึ้นกลางป่า ในยามบ่าย แสงสาดส่องเข้าปรางค์ปราสาทนครวัดทำให้เห็นเป็นสีทอง นอกจากนั้นยังเห็นวิวได้ 360 องศา เป็นบารายทิศตะวันตกซึ่งกลางบารายนี้จะมีสระเล็กๆ เป็นที่ตั้งของปราสาทแม่บุญตะวันตก นอกจากนี้ยังเห็นตัวเมืองเสียมเรียบ เห็นยอดเขาพนมบกที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 14 กิโลเมตรและเทือกเขาพนมกุเลนทอดยาว แต่เนื่องจากปราสาทแห่งนี้มีความเสื่อมโทรมเยอะมากแล้ว จึงได้มีการจำกัดจำนวนผู้เข้าเที่ยวชม 


เป็นยังไงกันบ้างคะกับการได้ทำความรู้จักกับปราสาทพนมบาเค็งแห่งนี้ ถือว่าเป็นอีกสถานที่ทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งที่มีความสวยงามมาก ๆ เลยใช่ไหมล่ะค่ะ และนอกจากจะมีความสวยงามแล้ว ยังมีความลงตัวกับธรรมชาติบนยอดเขา ทั้งยังมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ และรอให้คุณทุกคนรอไปสัมผัสคุณค่าของมันอยู่นะคะ หากใครที่สนใจและหลงใหลในสถานที่ท่องเที่ยวแบบนี้ ถ้ามีโอกาสก็อย่าพลาดไปชมกันนะคะ! สำหรับวันนี้เราขอตัวก่อน แล้วพบกันใหม่ในครั้งหน้า สวัสดีค่ะ! 




ข้อมูลอ้างอิง

ท่องเที่ยวกัมพูชา. ปราสาทพนมบาแคงและปราสาทตาพรหม. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2020. สืบค้นจาก http://altinmarkam.com/2018/09/ปราสาทพนมบาเค็ง-และปราส/

แกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2020. สืบค้นจาก http://www.yclsakhon.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539369354

Thursday, August 27, 2020

สุสานจักรพรรดิตือดึก (Tomb of Tu Duc) : ร่องรอยความงดงามในอดีต

สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันอีกแล้วนะคะ กับบล็อกที่จะพาทุกคนไปสัมผัสกับสถานที่ท่องเที่ยวในเอเชียอาคเนย์ที่มีทั้งประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่น่าสนใจ มีมนตร์เสน่ห์แห่งวัฒนธรรม และเต็มไปด้วยเรื่องราว โดยในครั้งนี้เองเราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ในประเทศเวียดนามกันค่ะ 

เมื่อพูดถึงเวียดนามเชื่อว่าใครหลายคนก็น่าจะเคยได้ยิน และรู้จักสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหลายแห่งกันแล้วใช่ไหมล่ะคะ วันนี้เราเลยอยากนำเสนอ สุสานจักรพรรดิตือดึก ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่มีความสวยงามและมีชื่อเสียงของเวียดนามกลางเป็นอย่างมาก และก่อนจะพาทุกคนไปดูความสวยงามของสถานที่แห่งนี้ เรามาดูประวัติความเป็นมากันดีกว่าค่ะ 

สุสานจักรพรรดิตือดึก
ที่มา : https://www.govietnamtravel.asia/hue-tours-highlights-place-to-visit/

สุสานจักรพรรดิตือดึก (Tomb of Tu Duc) ตั้งอยู่ที่จังหวัดเถื่อเทียน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเว้ไปประมาณ 5 กิโลเมตร สุสานแห่งนี้นั้นนับว่ามีขนาดที่ไม่ใหญ่มาก แต่มีความสวยงามลงตัวกับธรรมชาติ 

สุสานจักรพรรดิตือดึกนั้น มีที่มาจากพระเจ้าตือดึกซึ่งเป็นจักรพรรดิของเวียดนามในสมัยก่อน โดยตามบันทึกกล่าวว่าพระเจ้าตือดึกเป็นโอรสของพระเจ้าเกี่ยวจิและเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์เหงียนที่ทรงครองราชย์เป็นเวลานานที่สุดในราชวงศ์ คือ 36 ปี นั้นได้ทรงออกแบบเองเกือบทั้งหมด โดยได้สร้างสุสานแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1864 แล้วเสร็จในปี ค.ศ.1867 ใช้แรงงานคนถึง 3,000 คน องค์ประกอบของสุสานมีความงดงามกลมกลืนกับธรรมชาติแวดล้อม มองผ่าน ๆ ดูคล้ายกับพระราชวังหลวงจำลองขนาดเล็ก พระเจ้าตือดึกเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิของเวียดนามที่ทรงเป็นที่รู้จักในฐานะนักปราชญ์ ทรงมีพระชายามากกว่า 100 พระองค์ รวมถึงข้าราชบริพารอีกจำนวนมาก

จักรพรรดิตือดึก
ที่มา : https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Vua_Tu_Duc.jpg


จุดเด่นของสุสานแห่งนี้ คือ ตำหนัก 2 แห่ง ได้แก่ ตำหนักลูเคียม อาคารไม้เก่าแก่ที่ตั้งอยู่ริมทะเลสาบ รายล้อมด้วยดอกบัวบานสะพรั่ง เป็นสถานที่ที่พระองค์ทรงโปรด โดยทรงใช้เวลาว่างในตำหนักแห่งนี้นิพนธ์บทกวี และพักผ่อน และตำหนักอีกแห่งที่ได้รับการกล่าวขวัญกันมากกว่าคือ ตำหนักซุงเคียม ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ค.ศ. 1865 โดยบันไดตำหนักนั้นทอดตัวไปสู่สุสานเลืองเคียม ซึ่งเป็นสถานที่เก็บรักษาเครื่องเรือน แจกันและหีบเครื่องประดับ เลยออกไปจะเป็นลานที่ทอดไปสู่สุสาน มีหินสลักขุนนาง ช้าง ม้า

ด้านหน้าของสุสานจักรพรรดิตือดึก 
ที่มา : https://dulichkhampha24.com/kham-pha-lang-tu-duc-hue.html

และถัดมาที่ “บ๋ายดิ๋ง” บริเวณส่วนกลางของสุสานที่มีศิลาจารึกขนาดใหญ่ซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 22 ตัน โดยลักษณะคือ มีรูปปั้นหินตั้งเรียงรายกันอยู่หลายรูป อาทิ รูปปั้นช้าง ม้าศึก พลรบ ขุนนางทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ด้านหน้าลานจะมีแผ่นศิลาจารึกหรือหินแกะสลักชีวประวัติของกษัตริย์ในสุสาน ซึ่งส่วนใหญ่เขียนโดยรัชทายาทหรือผู้สืบบัลลังก์ และใกล้ๆ กันจะเป็นหอบูชาที่เรียกว่า “ตามเซียน” เป็นที่ที่บรรดาราชวงศ์และเชื้อพระวงศ์มาสักการบูชาองค์จักรพรรดิ หรือราชินีที่สิ้นพระชนม์ตามประเพณี

ส่วนอาคารทรงโรงขนาดใหญ่นั้นเป็นโรงละครสมัยที่พระองค์ยังมีชีวิตอยู่ ส่วนตัวสุสานฝังพระศพของพระเจ้าตือดึกนั้นอยู่ด้านในสุด ทั้งนี้เพื่อป้องกันการโจรกรรม สุสานแห่งนี้จึงมีเพียงพระศพจำลองเท่านั้น

ตัวอย่างลักษณะของบ๋ายดิ๋ง
ที่มา : https://nghiencuulichsu.com/2016/12/29/tim-hieu-ve-con-nguoi-vua-tu-duc/

บรรยากาศรอบ ๆ สุสานจักรพรรดิตือดึก
ที่มา : https://dulichkhampha24.com/kham-pha-lang-tu-duc-hue.html

เป็นยังไงกันบ้างค่ะกับการได้ทำความรู้จักสุสานจักรพรรดิตือดึก คิดว่าหลายคนอาจจะยังไม่คุ้นกับชื่อสถานที่นี้นัก แต่เมื่อได้ทราบแล้วว่าสถานที่แห่งนี้มีประวัติศาสตร์ความเป็นมา และความน่าสนใจยังไง ก็อยากให้ทุกคนเมื่อมีโอกาสได้ออกไปท่องเที่ยวที่ประเทศเวียดนาม อย่าลืมลิสต์ให้สถานที่นี้เป็นตัวเลือกปลายทางในใจด้วยนะคะ สำหรับครั้งนี้ขอตัวลาไปก่อนแล้วพบกันใหม่ในครั้งหน้านะคะ สวัสดีค่ะ! 



อ้างอิงที่มา 

สุสานจักรพรรดิตือดึ๊ก จังหวัดเถื่อเทียน เว้ ประเทศเวียดนาม. สืบค้นวันที่ 26 สิงหาคม 2563, จาก https://palanla.com/index.php?op=abroadLocation-detail&id=299

Tuyết Nhi. Khám  lăng Tự Đức Huế – công trình lăng tẩm đẹp nhất thế kỷ 19. สืบค้นวันที่ 26 สิงหาคม 2563, จาก https://dulichkhampha24.com/kham-pha-lang-tu-duc-hue.html

Friday, August 14, 2020

การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากยุคหินเก่า ยุคหินใหม่ และยุคเริ่มแรกอารยธรรม

สวัสดีค่ะ เป็นยังไงกันบ้างคะกับช่วงที่ผ่านมากับสถานการณ์โลกในปัจจุบัน คงมีเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้เราต้องปรับตัวกันเป็นอย่างมากเลยใช่ไหมล่ะคะ หรืออาจจะเป็นชีวิตประจำวันที่เราเองก็ต้องปรับตัวอยู่เสมอเมื่อพบปัญหาเข้ามา ซึ่งในโลกปัจจุบันนี้อะไร ๆ ก็ดูจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเสียหมด จนเราเองก็พลอยที่จะต้องเร่งรีบปรับเปลี่ยนตัวเองให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงนั้นด้วยเช่นกัน 

ดังเช่นในอดีต ในยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคเริ่มแรกของประวัติศาสตร์ มนุษย์ในยุคนั้นเองก็ต้องรู้จักเปลี่ยนแปลงและปรับเปลี่ยนตัวเองตลอดเวลาเช่นกันค่ะ เพราะในตอนแรกต้องอยู่ร่วมกับธรรมชาติ และต้องริเริ่มเรียนรู้การดำรงชีวิตอยู่ให้ได้ และเมื่อเวลาผ่านไป ความต้องการของมนุษย์ก็มีมากยิ่งขึ้น จนก่อเกิดเป็นพัฒนาการขึ้นในที่สุด โดยในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและพัฒนาการที่เด่นชัดที่สุดคือช่วงรอยต่อระหว่างยุคหินใหม่และยุคเริ่มแรกอารยธรรมค่ะ เรามาเรียนรู้กันดีกว่าว่าการดำรงชีวิตของมนุษย์ในยุคนั้น มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไรบ้าง! 






ยุคหินเก่า (Paleolithic Era)   

-
-
-
-
-
-

ยุคหินใหม่ (Neolithic Era)

-
-
-
-
-


ที่มา : https://www.shorthistory.org/prehistory/language-and-spiritual-culture-in-old-stone-age/

ยุคแรกเริ่มอารยธรรม (The first city and Civilization)

-
-
-
-
-
-


ที่มา : https://geography.name/agricultural-revolution/











Thursday, August 6, 2020

วิวัฒนาการของมนุษย์

 วิวัฒนาการของมนุษย์ 

มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ได้ถือกำเนิดและมีต้นกำเนิดบนโลกใบนี้มาอย่างยาวนานแล้ว พวกเราคงทราบกันแล้วใช่ไหมคะ แต่คุณทราบหรือไม่ว่ามนุษย์เป็นอีกหนึ่งสิ่งมีชีวิตมีมีพัฒนาการการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม และมีการเรียนรู้ต่อเนื่องเป็นเวลานานอย่างน่าอัศจรรย์ การเรียนรู้นั้นต่อยอดขึ้นมาให้ดียิ่งขึ้นในแต่ละยุคสมัย ทั้งยังเป็นต้นแบบวิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งสายพันธุ์ของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ยังเป็นที่น่าสนใจ และที่ ได้ปรากฏหลงเหลือร่องรอยหลักฐานและฟอสซิล โดยได้แบ่งตามแต่ละลักษณะดังนี้

Australopithecine สมองใหญ่เพียง 1 ใน 3 ของมนุษย์ปัจจุบัน ยืนได้สองขาและยืนตัวตรง Homo Habilis สมองมีพัฒนาการมากขึ้น ใช้หินเป็นเครื่องมือ Homo Erectus เรียนรู้การใช้ไฟ ใช้หินเป็นเครื่องมือ Homo Sapiens อพยพมาจากรอบโลก เป็นมนุษย์สมัยใหม่ เรียนรู้การสร้างไฟ มีการพัฒนาภาษา

        โดย Homo Sapiens หรือมนุษย์ยุคปัจจุบันนั้น ได้ค้นพบหลักฐานร่องรอยเป็นฟอสซิลอยู่ในบริเวณเอเชีย ที่เชื่อว่าอพยพมาจากบริเวณอื่น ดังเช่น มนุษย์ปักกิ่ง (Peking Man) ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1923 มนุษย์ปักกิ่งเป็นกลุ่มบรรพบุรุษที่อาศัยอยู่ในจีนระหว่าง 200,000 และ 750,000 ปีที่ผ่านมา โดยพบร่องรอยการทำงานไม้ การใช้ไฟ การเจาะรูในวัตถุมนุษย์ชวา (Java Man) เป็นฟอสซิลของมนุษย์ในกลุ่มแรก ๆ ที่ถูกค้นพบ โดยพบในเกาะชวา(อินโดนีเซีย) ในปี 1891 และ 1892 นำโดยนักสำรวจชาวฝรั่งเศส โดยค้นพบฟัน กะโหลกศีรษะ โครงกระดูก ในบริเวณริมฝั่งแม่น้ำในชวาตะวันออก

ที่มา : https://alchetron.com/Java-Man

การปรับเปลี่ยนความเป็นอยู่ของมนุษย์
ในยุคหินเก่าและยุคหินใหม่ ยุคหินเก่า เป็นยุคที่มีการใช้หินและกระดูกสัตว์นำมาทำเป้นเครื่องมือและอาวุธเสียส่วนใหญ่ มีการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม เนิ่มรู้จักการเพาะปลูกแบบง่าย ๆ เริ่มรู้จักประดิษฐ์สร้างร่องรอยวัฒนธรรม เช่น ภาษา ศิลปะหรือความเชื่อ โดยยุคเริ่มแรกเช่นนี้ความเชื่อนั้นก้คือการเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติ ยุคหินใหม่ เป็นยุคแห่งการเกษตรกรรม มีการเพาะปลูก การรู้จักหาแหล่งอาหารใหม่ และมีการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเป็นครั้งแรก และรู้จักการผลิตนม เนื้อ หนัง หรือขนของสัตว์

ที่มา : https://www.silpa-mag.com/history/article_26940
        จากที่ได้ทราบเรื่องราวของมนุษย์หรือสายพันธุ์ของเราเองในอดีตแล้วคิดเห็นกันอย่างไรบ้างคะ มนุษย์สามารถดำรงเผ่าพันธุ์และอยู่บนโลกใบนี้โดยไม่สูญพันธุ์ไป เกิดขึ้นได้อย่างไรกัน ถ้าไม่ใช่เพราะการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม มนุษย์ในอดีตรู้จักการปรับตัวและต่อยอดสิ่งที่ยุคก่อนหน้ามีอยู่เสมอ แล้วพวกเราล่ะคะ พวกเราเป็นมนุษย์ยุคปัจจุบันที่ได้ดำรงชีวิตที่ถือว่าง่ายกว่า ทุกอย่างสะดวกสบายกว่าในยุคก่อนประวัติสาสตร์ แต่พวกเราเองก็ต้องรู้จักปรับตัวให้เข้ากับบริบทในชีวิตเช่นเดียวกัน เพราะการปรับตัวนั้นจะทำให้เราอยู่รอด

Saturday, November 16, 2019


ปราสาทหินพิมาย


ปราสาทหินพิมาย
ที่มา : 
http://suphawit.weebly.com/uploads/2/6/3/5/26359643/916151_orig.jpg
ปราสาทหินพิมาย หรืออุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติ ปราสาทหินพิมายนั้น ตั้งอยู่ที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา บริเวณอุทยานมีเนื้อที่ 115 ไร่ โดยปราสาทหินพิมายนั้นนับว่าเป็นปราสาทหินที่มีความงดงามและมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นพุทธสถานในลัทธิมหายาน ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ในสมัยของพระเจ้าสูรยวรมันที่ 2 ซึ่งมีรูปแบบศิลปกรรมและสถาปัตกรรมมาแบบบาปวน และนครวัด โดยชื่อปราสาทอย่างคำว่า “พิมาย” นั้นมาจากคำเดิมในจารึกภาษาสันสกฤต คือ “วิมาย” และ “วิมายปุระ” หมายถึงเมืองพิมาย ความเก่าแก่ที่สืบเนื่องไปตามลายลักษณ์อักษรนี้อยู่ที่จารึกกรอบประตูพุทธสถานที่เราเรียกกันในปัจจุบันว่า ปราสาทหินพิมาย จารึกกล่าวชื่อพระประติมา สร้างตามความเชื่อในวัฒนธรรมขอมองค์หนึ่งว่า “กมรเตงชคตวิมาย” แปลว่า พระวิมายอันเป็นเทพเจ้าแห่งจักรวาล (ธิดา สาระยา) 

และในปัจจุบันเองปราสาทหินพิมายถือว่าเป็นแหล่งโบราณสถานที่ผู้คนส่วนใหญ่รู้จัก และเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวหากจะเดินทางไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ทำให้มีการเติบโตทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในบริเวณนั้น


ที่มา : https://www.matichon.co.th/prachachuen/prachachuen-scoop/news_641734


จากที่กล่าวมาข้างต้นทำให้เห็นว่าปราสาทหินพิมายนั้นเป็นโบราณสถานอีกแห่งหนึ่งที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง ในการย้อนอดีตหรือเพื่อศึกษาศิลปะความเป็นมาของสมัยนั้น เพื่อเป็นการตระหนักถึงสิ่งล้ำค่าของปราสาทหินแห่งนี้ ทำให้ผู้จัดทำเกิดความสนใจและใคร่ที่จะศึกษาข้อมูลและทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยวัตถุประสงค์ของผู้จัดทำนั้นคือ การรวบรวมและศึกษางานเขียนจากเอกสารด้านประวัติศาสตร์ ด้านศิลปะและสถาปัตกรรม ด้านการท่องเที่ยว และสื่อที่เป็นคลิปวิดีโอ เพื่อเป็นความรู้ในการทำสารคดี หรือเพื่อเป็นแหล่งความรู้ในอนาคตต่อไป

ในการจัดทำทบทวนวรรณกรรมครั้งนี้ ผู้จัดทำได้รวบรวมข้อมูลและแบ่งประเภทของเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้เป็น 2 ประเภท คือ งานศึกษาจากเอกสาร และงานศึกษาจากคลิปวิดีโอ ซึ่งมีข้อมูลดังนี้

 
1) งานศึกษาจากเอกสาร
            โดยงานศึกษาจากเอกสารนั้น ผู้จัดทำได้แบ่งย่อยออกเป็น
3 ประเด็น คือ 1.1) งานเขียนที่กล่าวถึงด้านประวัติศาสตร์ของปราสาทหินพิมายและวิถีชีวิตของผู้คนในเมืองพิมาย 1.2) งานเขียนที่กล่าวถึงด้านรูปแบบศิลปะและสถาปัตยกรรมของปราสาทหินพิมาย และ 1.3) งานเขียนที่กล่าวถึงการท่องเที่ยวและการนำชมสถานที่ของปราสาทหินพิมาย ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
           
1.1) งานเขียนที่กล่าวถึงด้านประวัติศาสตร์ของปราสาทหินพิมายและวิถีชีวิตของผู้คนในเมืองพิมาย
งานในกลุ่มนี้ที่พบมีทั้งหมด
7 งาน ในช่วงปี พ.ศ. 2531 - 2562


ลำดับที่
    
         ชื่อผู้แต่ง
                    
                 ชื่อเรื่อง
             
           ปีที่พิมพ์
 
   ประเภท
     1
 กรมศิลปากร
เมืองพิมาย
             2531
   หนังสือ
     2
 ธิดา สาระยา
เมืองพิมาย
             2535
   หนังสือ
     3
 ธิดา สาระยา
เมืองประวัติศาสตร์
เมืองพิมาย เขาพระวิหาร เมืองอุบล เมืองศรีลัชชนาลัย

             
2538
   หนังสือ
 พิชญา สุ่มจินดา
ราวณะบุกยมโลกที่ปราสาทพิมาย
             2555
  บทความ
    5
สินทรัพย์ ยืนยาว

             2555
  วิทยานิพนธ์
ข้อมูลจากกรมศิลปากร
Gorgeous Siam บันทึกจาก 9 อุทยานประวัติศาสตร์
             2551
  หนังสือ
    7

             2562


 
   การวิจัย



1.2) งานเขียนที่กล่าวถึงด้านรูปแบบศิลปะและสถาปัตยกรรมของปราสาทหินพิมาย
งานในกลุ่มนี้ที่พบมีทั้งหมด
5 งาน ในช่วงปี พ.ศ. 2540 - 2553


ลำดับที่
       
        ชื่อผู้แต่ง
                   
                   ชื่อเรื่อง
                ปีที่พิมพ์
 
     ประเภท
     1
มณีรัตน์ ภาจันทร์คู
                
           2553
    งานวิจัย
 การค้นคว้า
ผกา เบญจกาญจน์
       
           2540
 
 วิทยานิพนธ์
     3
ลักษณ์ บุญเรือง
   
          
 2547
 วิทยานิพนธ์
วรรณวิภา สุเนต์ตา
          
          
           2553
 
    บทความ
     5
                
           2550
    บทความ


1.3) งานเขียนที่กล่าวถึงการท่องเที่ยวและการนำชมสถานที่ของปราสาทหินพิมา
งานในกลุ่มนี้ที่พบมีทั้งหมด  
4 งาน ในช่วงปี พ.ศ. 2545 - 2557


ลำดับที่
     
        ชื่อผู้แต่ง
                  
                 ชื่อเรื่อง
                       ปีที่พิมพ์
  
    ประเภท
นคร สำเภาทิพย์
              2545
    หนังสือ
     2
คู่มือท่องเที่ยว-เรียนรู้: ปราสาทหิน พิมาย พนมรุ้ง เมืองต่ำ ตาเมือน
เขาพระวิหาร
                            2550
    หนังสือ
     3
            
             2546
    หนังสือ
     4
สมภพ ชาตวนิช
            
               
             2557
    วิทยานิพนธ์



2) งานศึกษาจากคลิปวิดีโอออนไลน์
งานคลิปวิดีโอที่ผู้จัดทำให้รวบรวมมานั้นมีทั้งหมด
3 เรื่อง ดังนี้



ลำดับที่
                   
                  แหล่งที่มา
          
               ชื่อเรื่อง
           
         ผู้ผลิตสื่อ
    1
“กระจกหกด้าน” ตอน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย”

        krajokhokdan
    2

     กรมศิลป์ อยากเล่า
    3
     MVTV Thailand





ที่มา : https://www.isangate.com/new/firstpage/32-art-culture/knowledge/540-pra-sat-hin.html

บทสรุป
           
จากการที่ได้ค้นคว้าเอกสารและทบทวนวรรณกรรมเบื้องต้นถึงงานที่เกี่ยวกับอุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติ ปราสาทหินพิมาย นั้นทำให้เห็นว่ามีเอกสารหลายเล่มที่ได้ศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์ทั้งส่วนของศิลปะและสถาปัตยกรรมของปราสาทหินพิมาย การท่องเที่ยวหรือสื่ออย่างคลิปวิดีโอที่เป็นรายการ ซึ่งทั้งหมด
นั้นมี 19 เรื่อง  โดยส่วนใหญ่แล้วด้วยความที่ปราสาทหินพิมายนั้นเป็นที่รู้สึกอย่างกว้างขวางพอสมควร จึงมีการใส่รายละเอียดทางประวัติความเป็นมาไว้อย่างครบถ้วน ซึ่งหนังสือเล่มที่เป็นต้นแบบในการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ คือหนังสือเรื่อง เมืองพิมาย โดยธิดา สาระยา และนอกจากเรื่องประวัติศาสตร์ที่สำคัญแล้ว ปราสาทหินพิมายยังสำคัญในด้านอื่นๆ อย่างเช่น เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม เป็นแหล่งโบราณคดีที่ล้ำค่ายิ่งของเมืองไทย และจากการที่ได้สังเกตบทความทางวิชาการนั้น จะมีคนรุ่นใหม่ที่สนใจศึกษาแนวทางการปรับปรุงทัศนียภาพของตัวบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ การนำเสนอในเชิงท่องเที่ยว อย่างวิทยานิพนธ์เรื่อง แนวทางการปรับปรุงภูมิทัศน์อุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติพิมาย โดยมณีรัตน์ ภาจันทร์คู และมีการศึกษาถึงปราสาทหินพิมายในการอนุรักษ์หรือบูรณะโบราณสถานแบบอนัสซิโตซิส ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกขอไทยและทำให้ปราสาทหินพิมายนั้นดูเป็นแหล่งโบราณคดีที่เป็นต้นแบบในการบูรณะ จากบทความเรื่อง
ว่าด้วยประวัติศาสตร์การบูรณะโบราณสถานแบบอนัสติโลซิสที่ปราสาทหินพิมาย และนอกเหนือจากนี้ยังมีแหล่งข้อมูลหรือสื่ออีกหลายชิ้นที่มีความน่าสนใจทางด้านเนื้อหาสาระความรู้ทางวิชาการ ที่สามารถนำมาทบทวนเอกสารและใช้ในการเขียนสารคดีได้ต่อไป

วัดเชียงทอง (Xieng Thong Temple) : อัญมณีศิลปะล้านช้างแห่งหลวงพระบาง

สวัสดีค่ะ ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยเลย หวังว่าทุกคนคงจะสบายดีกันนะคะ ครั้งนี้ก็กลับมาพบกันอีกเช่นเคยกับบล็อกที่จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับส...